ชนเผ่าเดิมของฟิลิปปินส์ คือ นิโกรโตส์ (Negritos) อพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชีย
ต่อมาชนเผ่าอินโดนีเซียได้เข้ามาอยู่ในประเทศนี้ เป็นพวกเชื้อชาติมองโมลอยด์
ผสมคอเคเซียน ที่มีเหลืออยู่ในฟิลิปปินส์ ได้แก่ พวกอีลองโกทส์ ต่อมาชนเผ่ามาเลย์
(Melags) เข้ามาอาศัยอยู่ พวกมาเลย์ได้มีการติดต่อทางวัฒนธรรมกับพวกอินเดีย จีน
อาหรับมาแล้ว จึงมีการปกครอง กฎหมาย ศาสนา วรรณคดี ศิลป วิทยาศาสตร์เป็นของตนเอง
พวกมาเลย์อพยพเข้ามาฟิลิปปินส์ หลายครั้ง ครั้งที่ 2 ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของพวกตากาล็อค
วิสายัน อีโกกาโน ปอมปังโก และพวก ฟิลิปปินส์ที่นับถือศาสนาคริสต์
ส่วนพวกที่เข้ามาครั้งที่ 3 จะนับถือศาสนาพระมะหะหมัด เป็น
บรรพบุรุษของพวกฟิลิปปินโน – มุสลิม อยู่ในเกาะมินดาเนา และซูลู
ฟิลิปปินส์เป็นศูนย์กลางการค้าแห่งเอเซีย มีประเทศในเอเซียและตะวันออกไกลเข้ามาทำ
การค้าขายด้วย จนในคริสต์ศตวรรษที่ 15 พวกแขกมะหะหมัดแผ่อิทธิพลเข้ามา การค้าขายกับ
ประเทศเพื่อนบ้านในเอเซียลดน้อยลง จนกระทั่งชาวสเปนเข้ามา
แล้วได้ทราบว่าวัฒนธรรมและ
ความเป็นอยู่ของชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย จีน และชาวอาหรับ
การแต่งกาย ของชาวฟิลิปปินส์ในยุคนั้น นิยมใช้เครื่องประดับกาย
ชาวเกาะ วิสายัน ชอบสักตามใบหน้า ร่างกาย และแขนขา
ชายหญิงสวมเครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำและเพชร พลอย ชาวพื้น เมืองนิยมใส่ปลอกแขน
กำไล และสร้อยคอ ก่อนสเปนเข้าครอบครอง สังคมแบ่ง ออกเป็น 3 ชนชิ้น คือ
ขุนนาง เสรีชน และทาส
ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 สเปนก็พบฟิลิปปินส์เป็นชาติแรก
ต่อมาเกาะทุกเกาะก็ตกอยู่ ในการปกครองของสเปน และได้รับอารยธรรมต่าง ๆ
ตลอดจนประเพณี ศาสนา วัฒนธรรมการ แต่งกาย และการดำเนินชีวิต
ส่วนการแต่งกายก็ไม่มีการสวมเสื้อ แต่งกายแบบชาวเกาะ นิยม ตกแต่งด้วยเครื่องประดับ
และสักตามร่างกายดังกล่าวแล้ว
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟิลิปปินส์ได้เอกราชตามสนธิสัญญา
เหตุการณ์บ้านเมือง ศิลปวัฒนธรรม เครื่องแต่งกาย ก็มีการผสมผสานกันระหว่างชาวยุโรป
เอเชีย และตะวันตก
เครื่องแต่งกายประจำชาติเป็นเสื้อคอกว้างแบบตะวันตก แขนยกตั้งเป็นปีกกว้าง
ทำด้วยผ้า บางและแข็งอย่างไหมสับปะรด นุ่งกระโปรงติดกับเสื้อเป็นชุดเดียวกัน
ส่วนตามเกาะต่าง ๆ มีการ แต่งกายแบบคล้ายชาวมลายู และอินโดนีเซีย คือ
นุ่งโสร่งปาเต๊ะ สวมเสื้อผ้าไหมสับปะรดหรือแพร แขนกระบอกยาวจดข้อมือ มีผ้าพาดบ่า
ส่วนผู้ชายจะสวมเสื้อแขนยาวทำจากใบสับปะรด นุ่งกางเกง แบบสากล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น